เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
ลงพระฟรี
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ลืมรหัสผ่าน
ให้ฉันอยู่ในระบบต่อไป
ชื่อร้านค้า
asia amulet
URL
http://www.asia.99wat.com
การแตกลายงา และ การแตกราน ในพระสมเด็จฯ
การลงรักปิดทองของ
พระสมเด็จวัดระฆัง
มีมาตั้งแต่การสร้าง จุดประสงค์ คือ การรักษาเนื้อพระให้คงทนต่อการใช้งานช่วยป้องกันรักษาเนื้อพระไม่ให้ชำรุดสึกหรอ โดยเฉพาะเป็นความเชื่อของพุทธศาสนิกชนว่าการลงรักปิดทองพระ จะเป็นศิริมงคลเป็นบุญกุศลแก่ตนเอง สืบทอดกันมาแต่สมัยโบราณไม่ว่าจะเป็นการลงรักหรือปิดทองพระพุทธรูปในโบสถ์ วิหาร หรือพระเครื่อง
ที่กล่าวกันว่ามีการลงรักปิดทองตั้งแต่การสร้าง
พระสมเด็จวัดระฆัง
สามารถพิสูจน์ได้จากพระสมเด็จวัดระฆัง ที่ลงรักเก่า รักเก่าหมดอายุจะหลุดร่อนออกมาเองตามธรรมชาติ ของพระเนื้อเก่าที่มีอายุเกือบ 150 ปีน้ำรักจะเคลือบผิวพระให้เป็นมันฉ่ำชื้น สังเกตว่าถ้าลงรักหนาจะมีเศษรักทั้งชิ้นใหญ่ชิ้นเล็ก เกาะติดกับผิวพระ ถ้าลงรักน้ำเกลี้ยงส่วนนอกจะหลุดออกไป เหลือคราบรักเกาะติดผิวพระ และรอยแยกในผิวพระมากว่าการลงรักหนา
ลักษณะของรักเก่า จะมีสีน้ำตาลอมแดงแห้งหม่นซีดเป็นมัน องค์ที่ปิดทองคำเปลวที่ทับรัก ทองคำเปลวจะเหี่ยวย่น สีหม่นซีดผสมกลมกลืนกับเนื้อรักบางจุดเป็นสีเหลือง อมน้ำตาลหรืออมแดง ถ้าทองคำเปลวมีสีสดใส ไม่ยับย่นแสดงว่าไม่เก่าจริง
พระสมเด็จวัดระฆังที่ลงรักจะเกิดการแตกลาน หรือแตกลายงาขึ้นกับผิวพระ มีผู้รู้อธิบายไว้ในหนังสือพระเล่มเก่าและเล่มใหม่ กล่าวถึงการแตกลายงาไว้ 2 ประเด็นดังนี้
การแตกลายงาของพระเนื้อเก่าจากการหลุดร่อนของเนื้อรักเก่าตามธรรมชาติ
การแตกลายงาโดยการล้างรักหรือถอดรักด้วยน้ำยาเคมี
1. การแตกลายงาของพระเนื้อเก่าจากการหลุดร่อนของเนื้อรักเก่าตามธรรมชาติ
การแตกลายงาเกิดขึ้นที่ผิวพระ จากการหดตัวของเนื้อพระเก่าและการหดตัวของเนื้อรักเก่าที่เคลือบผิวพระอยู่ทำให้เกิดแรงดึงและดันขึ้นกับผิวพระ เกิดการลั่นร้าวปริแตก มีริ้วรอย ร่องรอยขนาดเล็ก หรือเล็กมาก คดเคี้ยวประสานกันเป็นรูปทรงเหลี่ยมไปทั่วบนผิวพระกระบวนการแตกลายงานเป็นไปอย่างช้า ๆตามระยะเวลาอันยาวนานเกือบ 150 ปี มีการแตกลายออกเป็น 3 ชนิด คือ
แตกลายงาหยาบ
เกิดขึ้นจากการหดตัวของพระเนื้อหยาบ แก่ข้าวสุกตากแห้งบด เนื้อกล้วยสุกบด จะเกิดแรงดึงบนผิวพระมากจนยับย่น จะแตกลานแบบรากผักชี น้ำรักจะเป็นฝังตัวแทรกในร่องลึกของรอยแยกเป็นเส้นรักสีน้ำตาลอมดำ ขนาดเล็กคดเคี้ยวฝังลึกในลายงา ถ้าเนื้อพระหดตัวมากจะมีรอยแยกกว้างลึก บางท่านให้ความเห็นว่า การแตกลานหรือแตกหยาบบนผิวพระไม่มี ความจริงแล้ว มีการแตกลายงาลักษณะนี้จริง มีให้เห็นพระเนื้อเก่าหลายองค์ลบล้างความเชื่อเดิมให้หมดไป
แตกลายงาแบบละเอียด
เกิดขึ้นกับพระเนื้อละเอียดการหดตัวของเนื้อพระมีไม่มาก จะแตกลายงาละเอียดในผิวพระ น้ำรักจะซึมลงไปตามรอยแยกพอเนื้อรักเก่าหลุดร่อนออกไปจะถูกดึงหลุดออกไปด้วย จะเห็นรักฝังอยู่ประปราย
แตกลายสังคโล
ก
จะแตกตื้นเป็นเส้นลายงาขนาดเล็กมากเล็กกว่าลายงาละเอียด จะไม่มีรักอยู่ในรอยแยก จะเห็นเพียงแต่เส้นลายสังคโลกซ้อนลายงาแบบละเอียดที่ผิวพระ
การแตกลายงาทั้ง 3 ชนิดจะเกิดขึ้นด้านหน้าเป็นส่วนมาก เพราะระดับบนผิวพระสูงต่ำไม่เท่ากัน ได้แก่ เส้นซุ้มองค์พระ ฐานพระ นูนสูงขึ้นจากผิวพระ ทำให้เกิดแรงดึงแรงดันจากการหดตัวของเนื้อพระและเนื้อรักค่อนข้างมาก จนทำให้ผิวพระย่นยับปริร้าวเกิดแตกลายงา และลายสังคโลกขึ้น จะมีพระหลายองค์ลงรักทั้งด้านหน้าและหลัง(จากการจุ่มรัก) ด้านหลังแบบหลังเรียบไม่ปรากฏการแตกลายงายกเว้นบางองค์ แต่ส่วนมากจะเป็นการแตกรานที่ด้านหลัง ซึ่งเกิดจากการที่ผิวพระไม่ราบเรียบ แก่มวลสาร จึงเกิดการหดตัวที่พื้นผิวพระ และ อุณหภูมิครับ
มีข้อสังเกตว่าพระเนื้อไม่เก่าจริง มีการทำให้เนื้อรักแตกลานและกะเทาะออกแตกลายเป็นเส้นรักสีดำนูน ขนาดเล็กมากมาย เกาะติดบนผิวพระโดยที่ผิวพระ ไม่แตกลายงาแต่อย่างใด จึงไม่ใช่การแตกลายงาที่แท้จริง
2. การแตกลายงาโดยการล้างรักหรือถอดรักด้วยน้ำยาเคมี
พระสมเด็จวัดระฆัง ที่ลงรักไว้ รักได้เกาะติดแน่นทั่วองค์พระ โดยไม่หลุดออกเองตามธรรมชาติจะใช้วิธีการล้างรักหรือถอดรัก ให้หลุดร่อนออกจากผิวพระจะใช้วิธีการจุ่มองค์พระลงในน้ำยาที่มีสภาพเป็นกรดอย่างรุนแรง ภายในเวลาที่กำหนดน้ำกรดจะกัดเนื้อรัก เกิดน้ำรักผสมน้ำกรด ไปทำปฏิกิริยากับผิวพระจนปรากฏรอยลานขึ้น ซึ่งการแตกลายงาจะเป็นรอยลานเฉพาะผิวขององค์พระ ไม่ลึกลงไปในเนื้อพระจะเห็นเป็นเส้นรอยเล็ก ๆ คล้ายเปลือกไข่บุบกระจายไปและมีขนาดของรอยลานเกือบจะเท่ากัน ไม่ใช่สภาพใหญ่บ้าง เล็กบ้าง
การพิสูจน์ตรวจสอบและวิเคราะห์
วิเคราะห์ตามหลักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติของกระบวนการแตกลายงา ในประเด็นที่ 1 จะมีค่าน้ำหนักถูกต้องเป็นจริงมีความเชื่อถือมากกว่า การใช้สารเคมี เร่งผิวพระให้แตกลายงา สอดคล้องกับแตกลายงาของพระสมเด็จวัดระฆัง ใน Blog นี้ ส่วนมากจะลงรักเก่ามาก่อน จะมีการแตกลายงาและลายสังคโลก ถูกต้องตรงกับคำอธิบายไว้ ในประเด็นที่ 1 ทุกประการ คือ จะมองเห็นการแตกลายงาทั้ง 3 แบบ ในพระองค์เดียวกัน อย่างชัดเจนในพระหลายองค์ซึ่งรอยลานจะมีขนาดไม่เท่ากัน ใหญ่บ้างเล็กบ้าง ตามลักษณะของการแตกลายงาตามธรรมชาติ สำหรับพระที่มีคราบปูนขาวปกคลุมผิวพระอย่างเบาบางหรือไม่มีเลย จะเห็นเพียงแต่เส้นแตกลายงา ทั้ง 3 แบบจะมีเส้นรักสีน้ำตาลอมดำแทรกตัวอยู่ในรอยแตกลายงาประปรายเบาบาง บางเส้นจะไม่มีรักเกาะติดอยู่เลย เพราะถูกดึงหลุดไปพร้อมกันเนื้อรักส่วนพระที่มีคราบปูนขาวหนาเกาะติด ผิวพระทั่วองค์พระน้ำรักจะฝังแทรกติดแน่นอยู่ในรอยแยกไม่หลุดร่อนออกมา จึงเห็นเส้นรักสีน้ำตาลอมดำอย่างหนาตา รวมทั้งพระที่ลงรักน้ำเลี้ยงจะมีลักษณะเช่นเดียวกัน
ซึ่งการหลุดร่อนออกเองของเนื้อรักเก่า ออกจากผิวพระเนื้อเก่าตามธรรมชาติตามกาลเวลาอันยาวนาน ทำให้เกิดการแตกลายงา และลายสังคโลกมีเส้นรักสีน้ำตาลอมดำ ฝังอยู่ในรอยแยกของลายงาทั้ง 3 แบบมากบ้างน้อยบ้างตามสภาพผิวพระ จึงเป็นจุดพิจารณาสำคัญอีกจุดหนึ่งบ่งบอกการเป็นพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่แท้ อย่างแน่นอน
โดย
know19
- เมื่อ 4 มิถุนายน 2560
ชอบ
0
/ เข้าชม 22189 / ความคิดเห็น 0
ดูข้อมูลต่อ
แสดงความคิดเห็น
ลบรูปภาพ
(รองรับไฟล์รูปภาพนามสกุล .jpg, .png, .gif)